หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างบริหารงาน
อำนาจหน้าที่
ผู้บริหาร
บุคลากร
สำนักงานสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก
ศูนย์พัฒนาคุณภาพองค์กร
ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้
แผนและกลยุทธ์
แผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ
แผนพัฒนาบุคลากร
แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
การป้องกันการทุจริต
การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมภายในหน่วยงาน
รายงานประจำปี
การจัดซื้อจัดจ้าง
บริการภายใน
บริการ
UP Academy
UP e-Learning
e-Exam
Library
UP-QA
UP Podcasts
UP Digital Collections
E-Services
ปฏิทินกิจกรรม / โครงการ
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวรับสมัครงาน
Green Office
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลสถิติการให้บริการ
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์ม / เอกสาร
คู่มือ
คู่มือการให้บริการ
คู่มือการปฏิบัติงาน
คู่มือการใช้งาน
Super KPI (ด้านวิชาการ)
ปีงบประมาณ 2566
ปีงบประมาณ 2567
พัฒนาคุณภาพองค์กร
อื่นๆ
ติดต่อเรา
ข้อมูลติดต่อ
สายตรงผู้อำนวยการ
แจ้งเรื่องร้องเรียน
แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แจ้งเรื่องร้องเรียนมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
แจ้งเรื่องร้องเรียนทั่วไป
มาตรการและแนวทางจัดการข้อร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
FAQ: สำนักงานสถาบันฯ
ก.ย. 15, 22
ฐานนันท์นาฎ หาญเลิศ
0 comment
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๔๕ – ๑๖.๐๐ น. ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้มอบหมาย ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เข้าร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญให้แก่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(มหาชน) หรือ อพท. เพื่อดำเนินกิจกรรมการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) หรือ SEA ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองเก่าสุโขทัย กับภาคีเครือข่าย ผู้แทนภาคประชาชนเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งนี้เป็นการสรุปทางเลือกหรือมาตรการเพื่อความยั่งยืน ในการพัฒนาตำบลเมืองเก่าสุโขทัย คือ ก้าวไปสู่เมืองใหม่แห่งการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม สร้างภาคีเครือข่ายกับพื้นที่ใกล้เคียง ให้เกิดการกระจายประโยชน์อย่างเหมาะสม เท่าเทียม พร้อมให้ความสำคัญต่อการรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม สภาพทางสังคมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม
นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยฯ โดย นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในที่ประชุม ได้ให้ข้อคิดเห็นถึง การพัฒนาการท่องเที่ยวตามเกณฑ์ GSTC ไว้ว่า เมืองเก่าสุโขทัย ได้รับรางวัลระดับสากลจำนวนมาก ทั้งการเป็นเมืองมรดกโลก และUCCN หรือ การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO โดยในปีที่ผ่านมา 2564 ได้รับรางวัลสุดยอด 100 หรือ Top100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก จากองค์กรด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลกหรือ Green Destination Foundation แสดงถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความมุ่งมั่นไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเรื่องราวและแนวปฏิบัติที่ดี เป็นตัวอย่างให้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆทั่วโลก ทั้งนี้ จากผลประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองเก่าสุโขทัย นั้น มีโครงการที่ควรดำเนินการถึง 33 โครงการฯ ที่ควรบูรณาการให้หน่วยงานต่างๆนำไปขับเคลื่อนร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การทำให้เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว การพัฒนาภูมิทัศน์ การรักษาสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาเรื่องนกอพยพที่มารบกวนชาวบ้าน การฟื้นฟูประเพณีวิถีชีวิตดั้งเดิม อาทิ ถือตะกร้า นุ่งผ้าซิ่น พูดจาภาษาสุโขทัยฯลฯ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก(Global Sustainable Tourism Criteria, GSTC)
ภาพ : นางสาวเจษฎี จิตต์ปรีชา
ข้อมูล/ข่าว : ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี
Share this: